วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส่งงานบทโทรทัศน์

บทโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
บทโทรทัศน์ รายการ ไบโอดีเซล พลังงานใหม่เพื่อคนไทย
ตอนที่ 4 ไบโอดีเซล ผลิตจากอะไรได้บ้าง
ความยาว 2 นาที


ภาพ

Interlude เปิดรายการ
1. พิธีกร พร้อมขึ้น caption ชื่อ – นามสกุล
2. ด้านหลังพิธีกร เป็นกรอบภาพเชิงตัวอย่างที่เหมาะสมกับ
เรื่องราวที่พิธีกรกล่าว
- ภาพป้ายราคาน้ำมันที่เปลี่ยนไปจากที่ออกแบบไว้ เมื่อตอนที่ 1
- ภาพสวนปาล์ม สวนมะพร้าว ทานตะวัน สบู่ดำ อย่าลืมใส่ CG ชื่อพืชแต่ละชนิด
- ภาพกระบวนการผลิตและจบที่หัวจ่ายน้ำมันที่สามารถเห็นคำว่า ไบโอดีเซล
เสียง
บรรยาย: ราคาน้ำมันวันนี้แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกประเทศ ทั่วโลกต่างพยายามหาพลังงานรูปแบบอื่นมาใช้ ซึ่งประเทศไทยของเราพื้นดินดี มีนาสวน มีพืชเกษตรหลายชนิด ที่สามารถนำมาสกัดและผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลวในชื่อที่เราเริ่มคุ้นหู “น้ำมันไบโอดีเซล”
------------ดนตรี-------------------
ภาพ
3. ภาพพืชเกษตรที่ให้น้ำมัน เลือกมา 8 ชนิด (ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ถั่วเหลือง ละหุ่ง สบู่ดำ ทานตะวัน งา ถั่วลิสง) โดยแสดงพร้อมกันทั้ง 8 ภาพ (นึกถึงกรอบตาราง 3x3 ) พร้อม CG ชื่อพืชแล้วจึงตามด้วยภาพพิธีกรด้านขวาของกรอบภาพ

4. Zoom Out ภาพถั่วลิสงขึ้นจากกรอบเล็ก และ Fade in ภาพพืชอื่นอีก 7 ภาพ

5. แบ่งเป็น 2 Blocks ด้านซ้าย-ภาพถั่วลิสง, ด้านขวา – ภาพ CG แผนที่ประเทศไทย + พื้นที่ปลูกถั่วลิสง + เมล็ดมีน้ำมันร้อยละ 50-60 + ผลิผลิต 140,000 เมตริกตัน/ปี ใช้ภายในประเทศ 170,000 เมตริกตัน/ ปี
6. แบ่งเป็น 2 Blocks ด้านซ้าย-งา ด้านขวา – ภาพ CG แผนที่ประเทศไทย + พื้นที่ปลูกงาน + เมล็ดมี
เสียง

บรรยาย : การผลิตน้ำมันไบโอดีเซล วัตถุดิบเป็นสิ่งแรกที่ต้องพิจารณา พืชน้ำมันที่ใชจะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ วันนี้ ตามผมมาดูกันครับว่า เราจะหันไปหยิบจับพืชเกษตรอะไรใกล้ตัวมาผลิตเป็น “น้ำมันไบโอดีเซล” กันได้บ้าง เริ่มจากที่มีโอกาสน้อย ก่อนครับ
ถั่วลิสง เมล็ดมีน้ำมันร้อยละ 50-60 ประเทศไทยมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตไม่พอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าถั่วลิสงเป็นจำนวนมาก
งา มีแหล่งปลูกในภาค------ ผลผลิตที่ได้ร้อยละ 65 จะส่งออกไปยังต่างประเทศ น้ำมันงา มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะที่จะใช้ในการบริโภคมากกว่า เพื่อการผลิตไบโอดีเซล
ภาพ
7. แบ่งภาพเป็น 2 Blocks ด้านซ้าย – ทานตะวัน ด้านขวา-ภาพ CGH แผนที่ประเทศไทย + พื้นที่ปลูกทานตะวัน + CG 400,000 ไร่ + ตัวอย่างผลิตภัณฑ์โภชนาการจากทานตะวัน
8. พิธีกรพร้อมกรอบภาพตัวอย่างตอนต่อไป + Caption สอบถามรายละเอียดเพิ่มเ ติม
เสียง
ทานตะวัน เป็นพืชที่ปลูกเพื่อการบริโภคที่ตลาดมีความต้องการสูง ขณะที่ปริมาณการปลูกไม่ได้เพิ่มขึ้น การนำเข้าทานตะวันเพิ่มขึ้นทุกปี จึงไม่เหมาะที่จะนำมาผลิตไบโอดีเซล

พืชเกษตรที่จะนำมาผลิต้เป็น “น้ำมันไบโอดีเซล” ยังไม่หมดนะครับ มาชมกันต่อตอนหน้า วันนี้ลาไปก่อนครับ
Interlude ปิดรายการ
นางสาวอภิญญา เทียมปาก
50122764080
ตอนเรียนb1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น