วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ส่งงาน การแนะนำบุคคล

ชื่อ: นาย สุเทพ เทือกสุวรรณ
เกิด: 7 กรกฎาคม 2492

การศึกษา: ศศ.บ. (รัฐศาสตร์) ม.เชียงใหม่ ,M.A.(POLITICAL SCIENCE) สหรัฐฯ
ที่อยู่: 444/23 บางกอกริเวอร์มาริน่า ถ.จรัลสนิทวงศ์ บางพลัด กทม.

โทร.: 435-2520 โทรสาร. 435-2520
51 ถ.จุลจอมเกล้า ต.พุนพิน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
โทร. (077) 312-557-8
อาชีพ: นักการเมือง
ตำแหน่ง :รองนายกรัฐมนตรีพรรค ประชาธิปัตย์
ประสบการณ์: ส.ส. 2522,2526,2529,2531/1,2535/2,2538,2539,
เลขานุการ รมว.กระทรวงพาณิชย์ 2523,
เลขานุการ รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2525,
เลขานุการ รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2526,
รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์2529-2531, 2535-2537


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ปช.
--สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร—


อุปนิสัย ในการทำงานของท่าน สุเทพ นั้น เป็นคนที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ต่องานที่ทำและมีการพัฒนาในด้านงานอยู่เสมอ ชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมในหลายๆเรื่องได้แก่ในด้านของการตั้งวนโยบายความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน หรือการลงพื้นที่สำรวจในเรื่องของความเดือดร้อนหรือรับเรื่องร้องทุกข์ต่างๆของประชาชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในเรื่องต่างๆเพื่อที่จะได้เกิดความเจริญต่อประเทศ ท่านจึงเป็นบุคคลที่เป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่รักของผู้ร่วมงานและคนใกล้ชิด
ดังนั้นท่าน สุเทพ เทือกสุวรรณ จึงเป็นบุคคลที่ควรทราบหรือรู้จักท่านเอาไว้

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

คำกล่าวแนะนำบุคคล

คำกล่าวแนะนำบุคคล

ชื่อ นาย สุเทพ เทือกสุวรรณ
เกิด 7 กรกฎาคม 2492
การศึกษา ศศ.บ. (รัฐศาสตร์) ม.เชียงใหม่
M.A.(POLITICAL SCIENCE) สหรัฐฯ

ที่อยู่ 444/23 บางกอกริเวอร์มาริน่า ถ.จรัลสนิทวงศ์ บางพลัด
กทม. โทร. 435-2520 โทรสาร. 435-2520
51 ถ.จุลจอมเกล้า ต.พุนพิน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
โทร. (077) 312-557-8

อาชีพ นักการเมือง
ตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี
พรรค ประชาธิปัตย์

ประสบการณ์ ส.ส. 2522,2526,2529,2531/1,2535/2,2538,2539,
ลขานุการ รมว.กระทรวงพาณิชย์ 2523, เลขานุการ รมว.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2525, เลขานุการ รมต.
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2526, รมช.กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ 2529-2531, 2535-2537

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ปช.
--สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร—

อุปนิสัย ในการทำงานของท่าน สุเทพ นั้น เป็นคนที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ต่องานที่ทำและมีการพัฒนาในด้านงานอยู่เสมอ ชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมในหลายๆเรื่องได้แก่ในด้านของการตั้งวนโยบายความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน หรือการลงพื้นที่สำรวจในเรื่องของความเดือดร้อนหรือรับเรื่องร้องทุกข์ต่างๆของประชาชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในเรื่องต่างๆเพื่อที่จะได้เกิดความเจริญต่อประเทศ ท่านจึงเป็นบุคคลที่เป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่รักของผู้ร่วมงานและคนใกล้ชิด
ดังนั้นท่าน สุเทพ เทือกสุวรรณ จึงเป็นบุคคลที่ควรทราบหรือรู้จักท่านเอาไว้

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

คำกล่าวรายงานต่อประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม
หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์”
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2551
ณ ห้องประชุมวลัย โรงแรมหาดใหญ่รามา
เวลา 09.00 น.
***********************
เรียนท่าน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ท่านปราโมช ถาวร
กระผมในนามของ สำนักพัฒนาระบบการบริหารการจัดการสหกรณ์ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 18 จังหวัดสงขลา และผู้เข้ารับการอบรม ขอขอบพระคุณท่านอธิบดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์” ในวันนี้
การจัดฝึกอบรม หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์” นี้ ได้จัดขึ้น ตามแผนปฏิบัติงานประจำปี 2551 ของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ที่กำหนดให้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดการสหกรณ์แก่ ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ลูกค้ากองทุนพัฒนาสหกรณ์ โดยแบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 5 รุ่น และรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 5 จัดระหว่างวันที่ 27 – 28 สิงหาคม 2551 มีผู้เข้าอบรม จำนวนทั้งสิ้น 150 คน จากสหกรณ์ต่างๆ ในจังหวัด ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
การฝึกอบรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการสหกรณ์ แก่ลูกค้าของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ การให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกองทุนพัฒนาสหกรณ์และเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน โดยได้รับความร่วมมือด้านวิทยากรจาก ภาครัฐ และเอกชน ในการสร้างความเข้าใจ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร การบริหารการจัดการสหกรณ์แบบมีส่วนร่วม และหลักเกณฑ์การกู้เงิน กพส. ทั้งนี้ คาดหวังว่าผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวทางการบริหารไปพัฒนาสหกรณ์ ให้มีความเข้มแข็งในโอกาส ต่อไป
บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอเรียนเชิญรองอธิบดี กล่าวเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์”ด้วย

ตัวอย่างการกล่าวสุนทรพจน์


สุนทรพจน์

เรียนคณะกรรมการที่เคารพ ดิฉันเด็กหญิงปทุมทิพย์ สมคณะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 2
โรงเรียนบ้านปรือใหญ่ กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 4
ดิฉันรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมากล่าวสุนทรพจน์ในเรื่อง คุณค่าภาษาไทย เพราะภาษาไทย
นั้นจัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ เอกราชคู่ชาติไทยของเราค่ะ ดังเช่นบทกลอนบทนี้ที่กล่าวไว้ว่า

พ่อขุนรามคำแหงพ่อแห่งราษฎร์ สร้างภาษาคู่ชาติเป็นศาสตร์ศิลป์
เจ็ดร้อยกว่าปีผ่านสามแผ่นดิน ไทยไม่สิ้นภาษาพ่อสืบต่อมา

ท่านผู้ฟังที่เคารพคะ พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ทรงจารึกไว้ในหลักศิลาค่ะ จากหลักศิลาสู่แป้นพิมพ์ เกิดเป็นคำศัพท์ที่เลิศค่า สระ พยัญชนะถูกนำมาแต่งเป็นตำราใช้สอนผู้คนในชาติรุ่นแล้วรุ่นเล่าค่ะ การดำรงอยู่ของคนไทยเรา ขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาไทยค่ะ เพราะภาษาไทยคือภาษาประจำชาติเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทยค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญของสังคมและประเทศชาติในการศึกษา รวบรวม สั่งสม สร้างสรรค์ และถ่ายทอดศิลปะวิทยาการทุกแขนงค่ะ เรียนภาษาต่างประเทศก็ใช้ภาษาไทยในการอธิบาย เรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จะบวก ลบ คูณ หาร ก็ต้องอ่านภาษาไทยให้เข้าใจก่อนใช่ไหมคะ
ท่านผู้ฟังที่เคารพคะ ภาษาไทยยังเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติ ให้มีความเป็นไทย ทำให้สามารถประกอบกิจธุรการงานและการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุขค่ะ ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มีความงองาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น
หยดน้ำนมเพียงหนึ่งลูกซึ้งนัก ความอบอุ่นกรุ่นไอรักอันยิ่งใหญ่
อ้อมกอดแม่อบอุ่นกว่าสิ่งใด สองมือแม่เลี้ยงลูกให้เติบใหญ่มา

จากบทกลอนที่ดิฉันได้กล่าวมา แสดงให้เห็นถึงความงองามของภาษาไทยอย่างแท้จริงค่ะ แทนที่จะบรรยายความรักของแม่เป็นร้อยแก้ว แต่กลับนำมาแต่งเป็นร้อยกรองที่ไพเราะยิ่งนัก ภาษาไทยเป็นสื่อที่แสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่ คู่ชาติไทยตลอดไปค่ะ เราทุกคนควรรักษาภาษาไทยไว้ ร่วมกันใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะคะ

ไทยภาษาสมบัติชาติอาจเสื่อมสิ้น หากไทยหมิ่นไทยเองไม่เร่งสอน
มรดกตกทอดมาแสนอาวรณ์ แล้วใครรอนเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีไท


คำกล่าวปิดงาน




มหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งชาติครั้งที่ 6: Linux Empowermentวันอังคารที่ 11 พฤษภาคม 2547ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สื่อมวลชน และผู้ร่วมงานทุกท่าน

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอ แสดงความยินดีในความสำเร็จของการจัดงาน มหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งชาติครั้งที่ 6: Linux Empowerment ซึ่งเป็นงานที่มุ่งเน้นให้ ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการขนาดย่อม ได้รับทราบถึงทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ ในส่วนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกระทรวงที่มี บทบาทหลักในการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยมอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาด้าน โอเพนซอร์ส รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้กันมากขึ้นด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ไม่ใช่แค่ซอฟต์แวร์ฟรี ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เป็นกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะเกิดจากการพัฒนาโดยประชาคมขนาดใหญ่ซึ่งมาจากทั่วโลก ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ ภาษา นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากเอกชนรายใหญ่ๆ หลายราย รวมทั้งภาคการศึกษาคือ สถาบันการศึกษาทั่วโลก ก็ร่วมสนับสนุนด้วย ส่วนความสามารถของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนั้น ท่านคงได้รับทราบจากวิทยากรแต่ละช่วง รวมทั้งบูธนิทรรศการด้านนอกแล้วประโยชน์ของการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีหลายประการ
สุดท้ายนี้ ผมขอของคุณทุกท่านที่ช่วยในการจัดงานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งชาติ ครั้งที่ 6 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ ได้แก่ บริษัท แอปเปิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไอซ์ โซลูชั่น จำกัด หน่วยวิจัยภาษาศาสตร์คำนวณ สมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย และอีกหลายๆ หน่วยงานที่ร่วมนำผลงานมานำเสนอในงานนี้ และขอบคุณผู้ที่มาร่วมงานทุกท่าน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นับจากวันนี้ไป คนไทยจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์อย่างถูกต้อง มีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่หลากหลายและมีคุณภาพใช้ และใช้กันมากขึ้นต่อไป ขอบคุณครับ

คำกล่าวเปิดงาน
คำกล่าวของประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรม
หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์”
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2551
ณ ห้องประชุมวลัย โรงแรมหาดใหญ่รามา
เวลา 09.00 น.
***********************
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ผู้ตรวจราชการสหกรณ์เขตตรวจราชการที่ 6 และ 8 ผู้เข้าอบรมและผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ในวันนี้
จากคำกล่าวรายงานของผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการบริหารจัดการสหกรณ์ ถือว่าเป็นแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ที่ถูกต้อง และเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อการใช้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งการจัดตั้งเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ที่มีต่อสหกรณ์ ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542
ความเข้มแข็งของสหกรณ์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน
ทั้งด้านเงินทุน การบริหารจัดการของคณะกรรมการ การมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นหลัก ฉะนั้น การเพิ่มโอกาสให้กรรมการ ฝ่ายจัดการ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อทราบทิศทางการบริหารเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เป็นการป้องกันความผิดพลาดทางการเงิน และรู้แนวทางการบริหารเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสหกรณ์ และป้องกันอัตราความเสี่ยงในการบริหารเงิน
ผมขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ได้ดำเนินการให้มีการจัด
ฝึกอบรมในครั้งนี้ และขอขอบคุณผู้เข้าอบรมทุกคน ที่มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้าใจร่วมกัน และหวังว่าการฝึกอบรมครั้งนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์
ทุกประการ
บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมจึงขอเปิดฝึกอบรมหลักสูตร
“การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสหกรณ์” ณ บัดนี้

************************
นางสาวอภิญญา เทียมปาก

5122764080

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ส่งงานบทวิทยุ

บทวิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์
รายการ คลื่นคนรักสุขภาพ

ผู้ประกาศชาย ๑
สวัสดีครับท่านผู้ฟัง รายการ Heathy Radio คลื่นเพื่อคนรักสุขภาพ ออกอากาศเวลา ๑๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที ทุกวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ความถี่ ๑๐๐ MHZ ดำเนินรายการโดย กระผม นพดล พลอยชื่นชม

ผู้ประกาศหญิง ๑
และดิฉัน นันทวัน อาจศรี สำหรับวันนี้ดิฉันได้นำสาระความรู้ดีๆ มาฝากท่านผู้ฟังเช่นเคยค่ะ ในช่วงแรกจะมีสาระเกี่ยวกับประโยชน์ของผักชนิดหนึ่งมาฝากกันและ ในช่วงที่๒ เราก็มีเคล็ดลับการลดน้ำหนักจากผู้เชี่ยวชาญมาฝากคุณผู้ฟัง ส่วนช่วงสุดท้ายทางรายการได้นำเสนอการจัดบ้าน มุมสบายคลายร้อนกันนะค่ะ อย่าพึ่งเปลี่ยนคลื่นไปไหนนะค่ะเดียวกลับมาพบกับสาระดี ๆ กับทางรายการนะค่ะ

Spot Spot ชุด 1 นาที

ผู้ประกาศหญิง ๑
พบกับช่วงแรกของรายการ Healthy Radio อย่างทีบอกไว้ตอนต้นค่ะ ว่าเรามีประโยชน์ของผักที่เราพูดถึง นั่นคือ มะเขือเทศค่ะ ซึ่งเราได้รับประทานกันอยู่บ่อยๆ เช่น ในส้มตำ ต้มยำ ผัดผัก และสลัด นอกจากสีสันของมะเขือเทศที่สวยงามแล้ว มะเขือเทศยังมีคุณค่าและวิตามินมากมาย คุณนพดล ทราบรึเปล่าค่ะว่ามะเขือเทศนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ผู้ประกาศชาย ๑
ครับคุณนันทวัน จากที่ผมได้หาข้อมูลมาฝากท่านผู้ฟัง ก็ทราบว่ามะเขือเทศมีประโยชน์อยู่มากมายเลยนะครับ อย่างเช่น จะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ และยังมีวิตามิน เอ ช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี ซึ่งดีสำหรับเหงือกและฟันและสำหรับคุณสุภาพสตรีที่เอาใจใส่ในเรื่องของสุขภาพและผิวพรรณ ถ้าได้ทานมะเขือเทศวันละ ๑ – ๒ ลูกเป็นประจำ ก็จะสามารถช่วยบำรุงผิวพรรณทำให้ดูสดใส และยังทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วยครับ ซึ่งผมไม่แปลกใจเลยที่เห็นคุณสุภาพสตรีชอบทานส้มตำ ต้มยำ หรือสลัด ก็เพราะมีมะเขือเทศนี่เอง

SpotSpot ชุด1นาที
ผู้ประกาศหญิง ๒
กลับเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของรายการ Healthy Radio กับดิฉัน อรัญญา พรมแก้ว และคุณนพดล นะค่ะ สำหรับช่วงนี้เราจะมาพูดถึงการจัดบ้านที่เราอาศัยอยู่กันนะค่ะ เวลาที่เราอยู่บ้านก็ถือเป็นการพักผ่อนที่เรียกได้ว่ามีความสุขมากที่สุดเลยนะค่ะ แล้วเราจะทำอย่างไร ให้เราได้พักผ่อน อยู่บ้านอย่างสบายๆ ประหยัดและไม่สิ้นเปลือง รวมทั้งสร้างสุขภาพที่ดี

ผู้ประกาศชาย ๑
ครับ นอกจากนั้นเราก็ควรดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ดีอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ด้วยนะครับ ก่อนจากกันวันนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้ฟังรายการคงได้รับสาระความรู้ดี ๆ นะครับ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารครบ 5 หมู่ ดูแลสุขภาพนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากกระผมนพดล พลอยชื่นชม คุณอรัญญา พรมแก้ว คุณนันทวัน อาจศรี และทีมงาน พบกันใหม่กับสาระความรู้ดี ๆ กับรายการ Healthy Radio คลื่นเพื่อคนรักสุขภาพ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
จบรายการ

ส่งงานบทโทรทัศน์

บทโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
บทโทรทัศน์ รายการ ไบโอดีเซล พลังงานใหม่เพื่อคนไทย
ตอนที่ 4 ไบโอดีเซล ผลิตจากอะไรได้บ้าง
ความยาว 2 นาที


ภาพ

Interlude เปิดรายการ
1. พิธีกร พร้อมขึ้น caption ชื่อ – นามสกุล
2. ด้านหลังพิธีกร เป็นกรอบภาพเชิงตัวอย่างที่เหมาะสมกับ
เรื่องราวที่พิธีกรกล่าว
- ภาพป้ายราคาน้ำมันที่เปลี่ยนไปจากที่ออกแบบไว้ เมื่อตอนที่ 1
- ภาพสวนปาล์ม สวนมะพร้าว ทานตะวัน สบู่ดำ อย่าลืมใส่ CG ชื่อพืชแต่ละชนิด
- ภาพกระบวนการผลิตและจบที่หัวจ่ายน้ำมันที่สามารถเห็นคำว่า ไบโอดีเซล
เสียง
บรรยาย: ราคาน้ำมันวันนี้แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกประเทศ ทั่วโลกต่างพยายามหาพลังงานรูปแบบอื่นมาใช้ ซึ่งประเทศไทยของเราพื้นดินดี มีนาสวน มีพืชเกษตรหลายชนิด ที่สามารถนำมาสกัดและผลิตเป็นเชื้อเพลิงเหลวในชื่อที่เราเริ่มคุ้นหู “น้ำมันไบโอดีเซล”
------------ดนตรี-------------------
ภาพ
3. ภาพพืชเกษตรที่ให้น้ำมัน เลือกมา 8 ชนิด (ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ถั่วเหลือง ละหุ่ง สบู่ดำ ทานตะวัน งา ถั่วลิสง) โดยแสดงพร้อมกันทั้ง 8 ภาพ (นึกถึงกรอบตาราง 3x3 ) พร้อม CG ชื่อพืชแล้วจึงตามด้วยภาพพิธีกรด้านขวาของกรอบภาพ

4. Zoom Out ภาพถั่วลิสงขึ้นจากกรอบเล็ก และ Fade in ภาพพืชอื่นอีก 7 ภาพ

5. แบ่งเป็น 2 Blocks ด้านซ้าย-ภาพถั่วลิสง, ด้านขวา – ภาพ CG แผนที่ประเทศไทย + พื้นที่ปลูกถั่วลิสง + เมล็ดมีน้ำมันร้อยละ 50-60 + ผลิผลิต 140,000 เมตริกตัน/ปี ใช้ภายในประเทศ 170,000 เมตริกตัน/ ปี
6. แบ่งเป็น 2 Blocks ด้านซ้าย-งา ด้านขวา – ภาพ CG แผนที่ประเทศไทย + พื้นที่ปลูกงาน + เมล็ดมี
เสียง

บรรยาย : การผลิตน้ำมันไบโอดีเซล วัตถุดิบเป็นสิ่งแรกที่ต้องพิจารณา พืชน้ำมันที่ใชจะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ วันนี้ ตามผมมาดูกันครับว่า เราจะหันไปหยิบจับพืชเกษตรอะไรใกล้ตัวมาผลิตเป็น “น้ำมันไบโอดีเซล” กันได้บ้าง เริ่มจากที่มีโอกาสน้อย ก่อนครับ
ถั่วลิสง เมล็ดมีน้ำมันร้อยละ 50-60 ประเทศไทยมีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตไม่พอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้าถั่วลิสงเป็นจำนวนมาก
งา มีแหล่งปลูกในภาค------ ผลผลิตที่ได้ร้อยละ 65 จะส่งออกไปยังต่างประเทศ น้ำมันงา มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะที่จะใช้ในการบริโภคมากกว่า เพื่อการผลิตไบโอดีเซล
ภาพ
7. แบ่งภาพเป็น 2 Blocks ด้านซ้าย – ทานตะวัน ด้านขวา-ภาพ CGH แผนที่ประเทศไทย + พื้นที่ปลูกทานตะวัน + CG 400,000 ไร่ + ตัวอย่างผลิตภัณฑ์โภชนาการจากทานตะวัน
8. พิธีกรพร้อมกรอบภาพตัวอย่างตอนต่อไป + Caption สอบถามรายละเอียดเพิ่มเ ติม
เสียง
ทานตะวัน เป็นพืชที่ปลูกเพื่อการบริโภคที่ตลาดมีความต้องการสูง ขณะที่ปริมาณการปลูกไม่ได้เพิ่มขึ้น การนำเข้าทานตะวันเพิ่มขึ้นทุกปี จึงไม่เหมาะที่จะนำมาผลิตไบโอดีเซล

พืชเกษตรที่จะนำมาผลิต้เป็น “น้ำมันไบโอดีเซล” ยังไม่หมดนะครับ มาชมกันต่อตอนหน้า วันนี้ลาไปก่อนครับ
Interlude ปิดรายการ
นางสาวอภิญญา เทียมปาก
50122764080
ตอนเรียนb1

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552